22 พฤศจิกายน 2554

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ



    ประวัติสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ เป็นสโมสรใหม่ที่เปลี่ยนแปลงมาจากสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 โดยดร.วีระ ปิตรชาติ มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานได้ออกกำลังกายและสร้างความสามัคคีร่วมกันในหมู่คณะ
    ต่อมาในปีพ.ศ. 2535 สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง. โดยลงเล่น3ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นในถ้วย ค. และลงเล่นอยู่2ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นถ้วย ข. และอีก2ฤดูกาลสโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในดิวิชั่น 1ได้สำเร็จ
    หลังจากลงเล่นในดิวิชั่น 1อยู่นานสโมสรก็ได้เลื่อนขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อได้รองแชมป์ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2547 และได้เล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็น ครั้งแรกในฤดูกาล 2548 โดยฤดูกาลแรกในลีกสูงสุดสโมสรสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมเมื่อได้ตำแหน่ง รองแชมป์ และ ศุภกิจ จินะใจ กองหน้าของทีมก็คว้าตำแหน่งดาวซัลโวร่วมกับ ศรายุทธ ชัยคำดี กองหน้าของทีมการท่าเรือ ที่จำนวน10ประตู และยังได้เล่นเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล2549อีกด้วย
    ฤดูกาล2551 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของประพล พงษ์พาณิชย์และได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือก ในฤดูกาล2552
    ฤดูกาล 2552 สโมสรตกรอบคัดเลือกเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกทำ ให้ไม่สามารถเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มได้ และมีผลงานในลีกไม่ดีนัก สโมสรจึงได้เปลี่ยนตัวกุนซือในเดือนพฤษภาคม ปี 2552 จากประพล พงษ์พาณิชย์เป็นทองสุข สัมปหังสิตอดีตกุนซือทีมชาติไทยชุดแชมป์ซีเกมส์ ที่นครราชสีมา
    ภายหลังฤดูกาล 2552 ซึ่งทีมมีผลงานจบในอันดับที่ 9 ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปอยู่ที่ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงชื่อทีม เป็น บุรีรัมย์ พีอีเอ จากการเข้ามาบริหารสโมสรของ นายเนวิน ชิดชอบ นักการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหารทั้งหมด พร้อมกันนั้นทีมผู้ฝึกสอนก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในบางส่วนด้วยเช่นกัน




18 พฤศจิกายน 2554

ปราสาทเขากระโดง

       ปราสาทเขากระโดงตั้งอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟกระโดง อยู่ในเขตบ้านเขากระโดง (คุ้มบ้านซับน้ำซับ) ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ปราสาทเขากระโดงเป็นศาสนสถาน สร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย เดิมเป็นปรางค์หินทราย ก่อบนฐานศิลาแลงองค์เดียวโดดๆ ฐานสี่เหลี่ยมขนาด 4x4 เมตร มีช่องทางเข้า 4 ด้าน ต่อมาหินพังหรือถูกรื้อลงมา มีผู้นำหินมาเรียงขึ้นมาใหม่ แต่ไม่ตรงตามรูปแบบเดิม ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตระกูลสิงห์เสนีย์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองไว้ในองค์ปรางค์ แล้วสร้างมณฑปครอบทับ
ปราสาทเขากระโดงถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2518 ขอบเขตโบราณสถาน 1 งาน 60 ตารางวา




ปราสาทขอมโบราณสร้างยุคเดียวกับปราสาทเขาพนมรุ้งสร้างด้วยหินทรายสีชมพู

ปากปล่องภูเขาไฟ


    ปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดงอยู่ในเขตบ้านเขากระโดง(คุ้มบ้านซับน้ำซับ)ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอายุประมาณ 3 แสนถึง 9 แสนปี สูงจากระดับน้ำทะเล 265 เมตร
ซากปากปล่องเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก ยอดเนินเขาเป็นขอบปล่องด้านทิศใต้เรียกว่า เขาใหญ่ 
ส่วนยอดเนินเป็นขอบปล่องด้านทิศเหนือเรียกว่า เขาน้อย หรือเขากระโดง ส่วนบริเวณที่เป็นขอบปล่องปะทุคือ บริเวณที่เป็นหุบเขา ปัจจุบันมีสภาพเป็นสระน้ำ เป็นซากภูเขาไฟที่ยังคงสภาพดีและมีอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย่ ในปัจจุบันบริเวณตรงปากปล่องมีลักษณะเป็นหลุมลึก ทางเดินเท้าก่อด้วยหินและมีระเบียงไม้ชมวิว


จุดชมวิวปากปล่องภูเขาไฟ

บันไดนาคราช
 
   สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ขึ้นบันไดไปสักการะบูชาพระสุภัทรบพิตร ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขากระโดง จำนวน 297 ขั้น ชมการละเล่นพื้นบ้านในงานประเพณีขึ้นเขากระโดง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และร่วมทำบูญงานประกวดกวนข้าวทิพย์–ตักบาตรรเทโวโรหณะในช่วงก่อนวันออกพรรษาและวันออกพรรษาของทุกปี



บันไดนาคราชทางขึ้นเขากระโดง
สะพานพิสูจน์ศรัทธาสาธุชน











ปราสาทหินเมืองต่ำ

ปราสาทหินเมืองต่ำ ตั้งอยู่ที่ตำบลจระเข้มาก ห่างจากปราสาทหินพนมรุ้ง 8 กิโลเมตร เส้นทางลาดยางตลอด เป็นปราสาทขอมที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามโดดเด่นน่าชมอีกแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์
ประวัติความเป็นมาของปราสาทเมืองต่ำยังไม่ทราบชัดเพราะไม่พบหลักฐานที่แน่นอนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด หรือใครเป็นผู้สร้าง มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวน ซึ่งมีอายุอยู่ในราว พ.ศ. 1550-1625 โดยมีลักษณะของศิลปะขอมแบบคลังซึ่งมีอายุราว พ .ศ. 1508-1555 ปะปนอยู่ด้วย ภาพสลักส่วนใหญ่เป็นภาพเทพในศาสนาฮินดู จึงอาจกล่าวได้ว่า ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-17 เพื่อใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู

ตัวปราสาท ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลัก คือ ปรางค์อิฐ 5 องค์ สร้างอยู่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยศิลาแลง องค์ปรางค์ทั้ง 5 ตั้งเรียงกันเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์ แถวหลัง 2 องค์ ปรางค์ประธานซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ตรงกลางแถวหน้า ปัจจ ุบันคงเหลืออยู่เพียงส่วนฐาน ส่วนองค์อื่นๆ ที่เหลืออยู่ก็มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ ปรางค์ทุกองค์มีประตูเข้าสู่ภายในปรางค์ได้ด้านเดียว คือ ด้านทิศตะวันออก ด้านอื่นทำเป็นประตูหลอก แต่ปรางค์ประธานมีมุขหน้าอีกชั้นหนึ่ง การขุดแต่งบริเวณปรางค์ประธานได้พบทับหลังปร ะตูมุขปรางค์ สลักเป็นภาพเทพถือดอกบัวขาบประทับนั่งเหนือหน้ากาล แวดล้อมด้วยสตรีเป็นบริวาร หน้าบันสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ส่วนทับหลังประตูปรางค์สลักเป็นเทพนั่งชันเข่าเหนือหน้ากาล และยังได้พบชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้นประดับฐานอีกด้วย แสดงว่าปรางค์เหล่า นี้ได้เคยมีปูนฉาบและปั้นปูนเป็นลวดลายประดับตกแต่งอย่างงดงาม สำหรับปรางค์บริวารอีก 4 องค์นั้นยังคงมีทับหลังติดอยู่เหนือประตูทางเข้า 2 องค์ คือ องค์ที่อยู่ทางทิศเหนือของแถวหน้า และองค์ทิศใต้ของแถวหลัง สลักภาพพระศิวะอุ้มนางอุมาบนพระเพลา ประทับนั่งอยู่บน หลังโคนนทิ และภาพพระวรุณทรงหงส์ ตามลำดับ จากการขุดแต่งได้พบยอดปรางค์ทำด้วยหินทรายสลักเป็นรูปดอกบัว ตกอยู่ในบริเวณฐานปรางค์ หน้ากลุ่มปรางค์ยังมีวิหารเป็นอาคารก่ออิฐ 2 หลัง ตั้งหันหน้าตรงกับปรางค์ที่อยู่ด้านข้างทั้งสององค์

สิ่งก่อสร้างดังกล่าว ล้อมรอบด้วยกำแพงสองชั้น กำแพงชั้นในก่อด้วยหินทรายเป็นห้องแคบๆ ยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม ที่เรียกว่า ระเบียงคด กำแพงชั้นนอกเป็นกำแพงศิลาแลง กำแพงทั้งสองชั้นมีซุ้มประตูอยู่ในแนวตั้งตรงกันทั้ง 4 ด้าน ซุ้มประตูทั้งหมดยกเว้นซุ้มประตูของประตูชั้นในด้านทิศตะวันตกก่อด้วยหินทราย สลักลวดลายในส่วนต่างๆ อย่างงดงาม ตั้งแต่หน้าบัน ทับหลัง เสาติดผนัง ฯลฯ เป็นภาพเล่าเรื่องในศาสนาฮินดูและลวดลายที่ผูกขึ้นจากใบไม้ ดอกไม้ที่มักเรียกรวม ๆ ว่า ลายพันธุ์พฤกษา

ระหว่างกำแพงชั้นในและกำแพงชั้นนอก เป็นลานกว้างปูด้วยศิลาแลง มีสระน้ำขุดเป็นรูปหักมุมตามแนวกำแพงอยู่ทั้ง 4 มุม กรุขอบสระด้วยแท่งหินแลงก่อเรียงเป็นขั้นบันไดลงไปยังก้นสระ ขอบบนสุดทำด้วยหินทรายเป็นลำตัวนาคซึ่งชูคอแผ่พังพานอยู่ที่ มุมสระ เป็นนาค 5 เศียร เกลี้ยง ๆ ไม่มีเครื่องประดับศีรษะ




เวลาเปิด-ปิด : ปราสาทหินเมืองต่ำ เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 06.00-18.00 น.
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 100 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมโบราณสถานในจังหวัดบุรีรัมย์ได้ ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์พน มรุ้ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานประวัติศาสตร์ พนมรุ้ง โทร. 0 4463 1746










ปราสาทพนมรุ้ง





      ปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้ง ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณ ที่มีความงดงามมากที่สุดแห่ง หนึ่ง ความงดงามและความยิ่งใหญ่ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของงานสถาปัตยกรรม การจำหลักลวดลายการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขามีแผนผังตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน จากงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่นี้ ชวนให้เกิดความสงสัยและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าคนในสมัยโบราณสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นมาได้อย่างไร

     ปราสาทพนมรุ้ง เป็นที่รู้จักของชาวท้องถิ่นเป็นอย่างดี ดังได้มีนิทานพี้นบ้านเรื่อง "อินทรปรัสถา" กล่าวถึงคู่พระคู่นางซัดเซพเนจรไปจนพบที่พักพิงซึ่งเป็นปราสาทหินอันงดงามรกร้างอยู่ท่ามกลางป่าเขา แต่สำหรับบุคคลภายนอกต่างบ้านต่างเมืองนั้น ปราสาทแห่งนี้รู้จักกันครั้งแรกตามที่มีเอกสารที่มีการกล่าวถึงปราสาทพนมรุ้งเป็นครั้งแรกคือ บันทึก ของนายเอเตียน เอมอนิเยร์ (Etienne Aymonier) ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2428 ตีพิมพ์เป็นบทความใน พ.ศ. 2445

      ปี พ.ศ. 2449 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาที่ปราสาทพนมรุ้ง คราวเสด็จมณฑลอีสาทและเสด็จอีกครั้งในปี พ.ศ. 2472 กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานของชาติประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

       และปี พ.ศ. 2503-2504 ได้ดำเนินการสำราจปราสาทพนมรุ้งอีกครั้ง ต่อมาใน พ.ศ. 2514 ได้เริ่มดำเนินการบูรณะปราสาทพนมรุ้งด้วยวิธีอนัสติโลซิส (Anastylosis คือ การนำชิ้นส่วนของปราสาทกลับเข้าสู่ตำแหน่างเดิม) เปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน
ชื่อของปราสาทพนมรุ้ง เป็นชื่อดั้งเดิมของโบราณสถานแห่งนี้ คำว่า พนมรุ้งปรากฏอยู่ในศิลาจารึก ที่พบที่ปราสาทแห่งนี้จารึกพนมรุ้ง หลักที่ 2 หลักที่ 4 และ K10900 จารึกว่า พนมรุ้งเป็นชื่อเทวสถาน ที่มีขอบเขตกว้างขวาง มีที่ดิน หมู่บ้าน เมือง



ปราสาทแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะพระองค์ที่ประทับอยู่บนยอดเขาไกรลาส ดังนั้น การที่ ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นบนยอดเขาพนมรุ้ง จึงเป็นการสะท้อนถึงการนับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายได้เป็นอย่างดี

อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของปราสาทพนมรุ้ง ไม่ได้สร้างขึ้นมาพร้อมกันหมดในคราวเดียว ได้มีการสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อการนับถือศาสนาของชุมชน ขึ้นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ได้แก่ ปราสาทอิฐ 2 หลัง ที่ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐานและกรอบประตู หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างต่อเนื่องกันมาเป็นลำดับ โดยกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรโบราณ หรือผู้นำที่ปกครองชุมชน อันมีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง

ปราสาทพนมรุ้ง คงมีความสำคัญสืบต่อมาจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) พระองค์นับถือศาสนาฮินดูไศวนิกาย เช่นเดียวกับพระราชบิดา (พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ) นอกจากจะมีพระราชโองการให้สร้างจารึกเพื่อสรรเสริญเกียรติคุณของพระราชบิดาแล้วยังทรงถวายที่ดินให้กับเทวสถานใน สมัยนี้เอง เทวสถานบนเขาพนมรุ้ง เป็นศูนย์กลางของชุมชนโดยรอบอย่างแท้จริง ข้อความในจารึกพนมรุ้ง บางหลักแม้จะมีเนื้อความขาดหายแต่ก็ให้ภาพ รวมได้ว่าเทวสถานบนเขาพนมรุ้ง เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ คือ ศิวลึงค์ มีอาณาเขตกว้าวขวางมีที่ดิน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดิน (พระเจ้าวรมันที่ 5 ) และข้าราชการระดับต่าง ๆ ถวายหรือซื้อถวายให้กับเทวสถานพร้อมกับมีพระราชโองการ ให้ปักหลักเขตที่ดินขึ้นกับเทวสถานพนมรุ้งพร้องกับการสร้างเมือง สร้างอาศรมให้กับโยคี และนักพรตด้วย



ในราวพุทะศตวรรษที่ 17 ได้มีการก่อสร้างปราสาทประธานขึ้น จากการศึกษาศิลาจารึกพนมรุ้ง หลักที่ 7 และหลักที่ 9 กล่าวได้ว่าปราสาทประธานสร้างขึ้นในสมัยเรนทราทิตย

ชีวประวัติของนเรนทราทิตย์

นเรนทราทิตย์เป็นโอรสของพระนางภูปตีนทรลักษมี เป็นผู้มีสติปัญญาหลักแหลม มีความสามารถในการรบ ได้เข้าร่วมรบกับกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในการรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น จากศึกสงครามนเรนทราทิตย์คงได้รับความดีความชอบเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเมือง ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของราชวงศ์มหิธรปุระ


ทรงได้ดำเนินการสร้างปราสาทหลังใหญ่ขึ้นประดิษฐานรูปเคารพสร้างงานศิลปกรรมปรากฏเป็นงานจำหลักตามส่วนต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง ที่ล้วนแต่แสดงให้เห็นว่า มีความประสงค์ที่จะสร้างเทวสถานแห่งนี้เป้นเทวาลัยของพระศิวะ มีศิวลึงค์เป็นองค์ประธาน และยังมีการนับถือเทพองค์อื่น ๆ แต่อยู่ในสถานะเทพชั้นรอง นอกจากนี้ข้อความที่ปรากฏในจารึกยังแสดงให้เห็นว่า นเรนทราทิตย์ ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ เพื่อประดิษฐานรูปของตนเอง หลังจากสิ้นพระชนม์ ความเลือมใส ศรัทธาอันแรงกล้าต่อศาสนา ทำให้ท่านทรงออกบรรพชาถือองค์เป็นนักพรตจวบจนวาระสุดท้าย ข้อความที่ปรากฏในจารึกพนมรุ้ง ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ท่านคงเป็นนักพรตในลัทธิไศวนิกาย ตามแบบนิกายปศุปตะที่มีการนับถือกันมาแล้วแต่เดิม โอรสของนเรนทราทิตย์ คือ หิรัณยะ เป็นผู้ที่ให้จารึกเรื่องราวเพื่อสรรเสริญเกียรติคุณของพระบิดาได้ให้ช่างหล่อรูปของนเรนทราทิตย์ด้วยทองคำ

สิ่งก่อสร้างสมัยสุดท้าย คือ บรรณาลัย และพลับพลา ซึ่งมีการก่อสร้างเพิ่มเติมซ่อมแซมขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 - 1763 ) มหาราชองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรเขมร พระองค์ทรงนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน โปรดให้สร้างอโรคยศาล หรือ ศาสนสถานพยาบาล จำนวน 102 แห่ง และที่พักคนเดินทาง จำนวน 121 แห่ง ขึ้นในดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ ตามข้อความที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม และจารึกปราสาทพระขรรค์ ตามลำดับ โบราณสถานดังกว่าวนี้ ที่อยู่ใกล้เคียงปราสาทพนมรุ้ง ได้แก่ กุฏิฤาษีเมืองต่ำ และกุฏิฤาษีหนองบัวลาย ซึ่งเป็นศาสนสถานพยาบาล ปราสาทบ้านบุ เป็นที่พักคนเดินทาง

We Will Not Grow Old